วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ



ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ

ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่ที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์กรนั้น
สารสนเทศตรงคำในภาษาอังกฤษว่า (Information) หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเป็นความรู้ และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ มีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT คือเป็นเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล และการแสดงผงสารสนเทศ
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของ IT ในปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ มีคุณสมบัติครบถวน ทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น เทคโนโลยีย่อยสำคัญได้ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีฮารืดแวร์และเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์
- เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยง จำแนกตามหน้าที่ (CPU)
ทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หน่วยรับข้อมูล
2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
3. หน่วยแสดงข้อมูล (Output unit)
4. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
2. เทคโลโนยีซอฟต์ (Softwaer) หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์ทำงานได้ดี
2.2 ซอฟตืแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เคื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ
3. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ดามเทียม และอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสาร

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ปี (2520 - 2524)
- มีการจัดตัวศูนย์ประสานงานและปฏิบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
- ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ในแผนพัฒนาจัดทำแผนหลัก เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
- แผนพัฒนาข้างต้นทำให้เทคโนโลยี สารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการการศึกษา ของประเทศไทยมากขึ้น ทำให้การศึกษามีคุณภาพ มีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 ประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณ
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการมีการใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์ ผลงาน
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยาการสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์ จึงเลือกให้สารสนเทศช่วยในการตัดสินนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุค ที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุค IT มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดระบบสารสนเทศและ เป็นความถนัดของการใช้บริการ สารสนเทศ แก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
1. ใช้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ประการวางแผนการบริการ
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5. เพื่อให้ทำงานบริการอย่างมีระบบ
สรุป
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษา มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียม ใยแก้วนำแสง อินเทอรืเน็ต ก่อให้เกิดระบบ คอมพิวเตอร์ สำหรับการบริหารงานใน สถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบ บริหารห้องสมุดและระบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคคลากรทาง

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 4

        ซอฟต์แวร์(software)
ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมรวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้างจัดเก็บและนำาใช้หรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิกเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ  ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
        หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามรถใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
        ประเภทของซอฟต์แวร์
ประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 3ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ(System  Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)และซอฟต์แวร์ใข้งานเฉพาะ
       1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System  Software)
ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่ผู้บริษัทผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลควาหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูล
      ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS,Windows, Unix,Linuxรวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic Fortran,Pascal,Cobol,C เป็นต้น
   นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบแบบเช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
    หน้าที่ของซอฟต์แวร์
1.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่นรับรู้และกดแป้นต่างๆบนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2.ใช้ในการจัดหน่วยความจำเพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่นการขอดูรายการในสารบบ( directiory)ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
        ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นทั่วไป
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2  ประเภทคือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System:OS)
2.ตัวแปรภาษา
    1.ระบบปฏิบัติการ หรือเรียกย่อๆว่า โอเอส( Operating System) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีวอฟต์แวร์ปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการี่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่นดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ ลี นุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
   1.ระบบปฏิบัติการ(Operating System:OS)
   1.ดอส (Disk Operating System :OS)เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไทโครคอมพิวเตอร์ ในอดึตปัจจุบันระบบปฏิบัติการนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
   2.วินโดวส์(Windows)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอสโดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากแบบนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานแน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำเหน่งที่ปรากฎบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
   3.ยูนิกส์(Unix) เป็นระบบปฏิบัติการพัฒนาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ที่เป็นเทคโนโลยีแบบใด(Open System)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ท่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกส์ยังถูกออกแบบมาเพือตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภาระกิจ(multitasking)ระบบปฏิบัติการยูนิกส์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องร่วมกัน
  4.ลีนุกส์(linux)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจากระบบยูนิกส์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่าย
        โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกส์ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากขึนในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ทำงานระบบลีนุกส์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูนิวส์(GNU)และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกส์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free Ware)ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
         ระบบลีนุกส์สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูลเช่น อินเทล (PC Intel)ดิจิตอล(Digital  Alpha Computer) และซันสปาร์ค(Sun Sparc)ถึงผู้ในขณะนี้ลีนุกส์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากมายขึ้น
 5.แมคอินทอช (macintosh)เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอชส่วนมากนำไปใช้งานกราฟิก ออกแบบแลัะจัดตกแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
          นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ดแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา
        ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งาน สามารถจำแนกออกได้ 3ชนิด คือ
1.ประเภทใช้งานเดียว(Single -tasking)ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2.ปนะเภทใช้หลายงาน(Multi-tasking)ระบบปฏิัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการWindows 98ขึ้นไปและUnixเป็นต้น
3.ประเภทใช้งานหลายคน(Multi-user)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผลทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูงเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานสำเร็จในเวลา เช่นระบบปฏิบัติการ WindowsNTและUnixเป็นต้น
      2.ตัวแปลภาษา
        การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
        ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
       ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ภาษา Basic ,Pascal,Cและภาษาโลโกเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาาาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากได้แก่ Fortran ,Cobol และภาษาอาร์ดีจี
        ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Softwara)ซอฟต์แวร์ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่นการจัดพิมพ์รายงาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพหรือการออกแบบเป็นต้น
          ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
      แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็นสองประเภทคือ
1.ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ(Proprietary Software)
2.ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่ไป(Packged Software)Software)มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ(Customized Packaged)และโปรแกรมมาตรฐาน(Standard Packaged)
     แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น3กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Businesse)
2.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Graphic and Maltiwedia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Wed and Communications)
    กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Businesse)ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถกนำมาใช้โดยมุ่งหวังใ้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น การจัดพิมพ์ รายงานเอกสาร นำเสนองาน และบันทึกนัดหมายต่างๆตัวอย่างเช่น
โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word,Sun Straoffice Writer
โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsfot Excel,Sun Straoffice Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsfot Powerponit,Sun Staroffice Impress
   กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยการจัดงานด้านกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ติดต่อภาพเคลือนไหวและการสร้า
งและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
    โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
     โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ Coreidraw addobe Photoshop
     โปรแกรม ตัดต่อวีดีโอและเสียง อาทิ Adobe Premive,Pinnacle Studio DV
     โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware,Tooibook Instructor,Adobe Dreamweaver